วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

เคมี

ตารางธาตุ
          ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุแล้วเป็นจำนวนมาก ธาตุเหล่านั้นอาจมีสมบัติบางประการคล้ายกันแต่ก็มีสมบัติบางประการที่แตกต่างกัน จึงยากที่จะจดจำสมบัติต่างๆ ของแต่ละธาตุได้ทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์จึงหากฎเกณฑ์ในการจัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันเพื่อง่ายต่อการศึกษา



สารละลาย
         สารละลายเป็นสารเนื้อเดียว เตรียมได้จากการผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน สำหรับสารละลายที่ตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะเดียวกัน จะถือว่าสารที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกับสารละลายจัดเป็นตัวทำละลาย สารละลายอาจมีตัวละลายมากกว่า 1 ชนิด และตัวละลายในสารละลายแต่ละชนิดอาจมีปริมาณแตกต่างกันซึ่งทำให้สารละลายมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน


ปริมาณสัมพันธ์
         เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น สารที่ใช้ทำปฏิกิริยาหรือสารตั้งต้นจะมีปริมาณลดลง ในขณะเดียวกันสารที่เกิดขึ้นใหม่หรือผลิตภัณฑ์ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเหล่านี้ในปฏิกิริยา สามารถใช้ในการคาดคะเนหรือคำนวณปริมาณสารที่ต้องใช้ทำปฏิกิริยาเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ตามต้องการ ทำให้ทราบว่าสารใดทำปฏิกิริยาหมดหรือมีสารใดเหลือจากการทำปฏิกิริยา ปริมาณของสารที่จะได้ศึกษาในบทนี้ได้แก่ มวลโมล ปริมาตร ความเข้มข้นของสารละลาย นอกจากนี้จะได้ศึกษาการคำนวณปริมาณสารในสมการเคมี



ธาตุแทรนซิชัน
                   นักเรียนได้ศึกษาสมบัติบางประการของธาตุหมู่ A มาแล้ว ต่อไปจะได้ศึกษาธาตุอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างธาตุหมู่ IIA และหมู่ IIIA ที่เรียกว่า ธาตุแทรนซิชัน ประกอบด้วยธาตุหมู่ IB ถึงหมู่ VIIIB รวมทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์ ดังรูป


แบบจำลองอะตอม
          เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก อีกทั้งไม่มีใครเคยมองเห็นอะตอมมาก่อน เมื่อนักวิทยาศาตร์พัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงมากนำมาใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ จึงสามารถถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพภายนอกของอะตอมได้ดังรูป


อ่านเพิ่มเติมทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น